มาสคอต นักดับเพลิง สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
งานป้องกันและระงับอัคคีภัยสำหรับประเทศไทย ได้มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ ในรัชสมัยพระราชาธิราช ประมาณ พ.ศ. 2057 – 2071 ได้จัดให้มีหมู่เวรยามรักษาการณ์ระวังภัย มีทั้งการสอดแนมระวังผู้ที่มารุกราน การก่อวินาศกรรม และวางเพลิงเผาเมือง ประจักษ์พยานที่เห็นได้อย่างชัดเจน ก็คือ การตั้งหอกลอง ขึ้นภายในกำแพงพระนคร สูงประมาณ 1 เส้น หอกลองที่สร้างขึ้นในสมัยนั้น มีอยู่ 3 ชนิด คือ
1. กองมหาฤกษ์ ใช้ตีเมื่อเวลามีข้าศึกหรือเกิดจลาจล มีขบถขึ้นกลางเมือง
2. กลองพระมหาระงับดับเพลิง ใช้ตีเมื่อเวลาไฟไหม้ในกำแพงเมืองให้ตี 3 รา ไหม้นอกกำแพงเมืองพนักงานจะตีกลองเป็นจังหวะสม่ำเสมอไปจนกว่าไฟจะดับ
3. กลองพระทีพาราตรี ใช้ตีบอกเวลาย่ำรุ่งและย่ำค่ำ
กลองทั้ง 3 ชนิดนี้ ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้เปลี่ยนเสียใหม่เป็นกลองนำพระสุริยศรี กลองอัคคีพินาศ และกลองพิฆาตไพรี เพิ่งมาเลิกใช้กลองในสมัยรัชกาลที่ 5 นี่เอง
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ร.ศ.124 (พ.ศ.2456) จอมพลพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงนครชัยศรีสุระเดช ขณะ นั้นดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการกรมยุทธนาธิการ ได้กราบบังคมทูลถวายรายงาน จัดวิธีการปกครอง และระเบียบการทหารบกใหม่ต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ว่าจะต้องจัดตั้งขึ้นเป็นแผนกหนึ่งกรมหนึ่งต่างหากฝึกหัดคน ได้เฉพาะหน้าที่ให้คล่องแคล่วและมีหน้าที่เฉพาะการดับเพลิง และเตรียมการ การดับเพลิงนั้นจะต้องแยกกันเป็นกองร้อยไปประจำในตำบลต่างๆ อีกชั้นหนึ่งจึงจะได้ผลจริง คุณมีมากคุ้มกับพระราชทรัพย์ที่จะเสียในการตั้ง “กรมดับเพลิง” นี้ โดยแท้การดับเพลิงนี้จะอยู่ในกระทรวงนครบาล หรือในการปกครองทหารนั้นแล้วแต่จะทรงพระราชดำริเห็นสมควรแต่ถ้าหากอยู่ในปกครองทหารแล้วจะเป็นเหตุให้นานาประเทศสังเกตงบประมาณทหารมากขึ้น และเข้าใจผิดไปเพราะการทั้งนี้ย่อมไม่ใช่เป็นหน้าที่ของทหาร ตามสมมติเจ้าใจในเมืองต่างประเทศการที่กราบบังคมทูลพระกรุณาเช่นนี้ หาได้คิดหลีกเลี่ยงหน้าที่โดยประการใดประการหนึ่งไม่เห็นแก่ประโยชน์ของทางราชการเท่านั้น แม้มี “กรมดับเพลิง” เช่นนี้แล้ว เมื่อเกิดเพลิงใหญ่ทหารก็จำใจต้องไปช่วยอยู่เช่นเดิมนั่นเอง แต่ได้กำลังของ “กรมดับเพลิง” นี้เป็นผู้อำนวยการและวางแผน
จากเหตุผลดังกล่าว เมื่อได้มีการจัดการทหารมณฑลกรุงเทพฯ ขึ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง จึงได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้แยกหน้าที่การดับเพลิงจากฝ่ายทหารให้มาขึ้นกับ “กรมตระเวน” ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “กรมตำรวจนครบาล” มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและดับไฟอย่างเต็มที่ ในสมัยที่กิจการดับเพลิงได้โอนมาขึ้นอยู่กับกรมตำรวจนี้ ตามหลักฐาน ปรากฏว่าในปี พ.ศ.2451 พ่อค้าประชาชนได้ร่วมใจกันบริจาคทรัพย์ซื้อรถดับเพลิงให้แก่กรมตำรวจ 1 คัน และนับว่าเป็นรถดับเพลิงคันแรกที่มีอยู่ในกรมตำรวจ จน กระทั่งปี พ.ศ.2474 กรมตำรวจมีรถดับเพลิง 5 คัน เรือดับเพลิง 1 ลำ ซึ่งนับว่าเป็นระยะที่กรมตำรวจมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่ทันสมัยขึ้น อำนาจหน้าที่ในการดับเพลิงจึงตกมาเป็นของตำรวจโดยสมบูรณ์ ทหารและบริษัทฯ ที่เคยดำเนินการช่วยเหลืออยู่ก็เลิกล้มไป
ถึงแม้ว่ากรมตำรวจจะมีอุปกรณ์ในการดับเพลิงที่ทันสมัยขึ้นก็ตาม แต่การปฏิบัติงานก็หาบรรลุตามเป้า หมายเท่าที่ควร ปรากฏว่าสถิติเพลิงไหม้และความเสียหายมีประมาณสูงขึ้น เพราะยังขัดข้องอยู่ที่จำนวนเจ้าหน้าที่และการติดต่อสื่อสาร
นับวันที่ประเทศไทย ได้เปลี่ยนการปกครอง รัฐบาลได้พิจารณาแล้วเห็นว่ากิจการดับเพลิงเป็นงานที่ต้องเร่งปรับปรุงเป็นเรื่องด่วน และถือว่าอัคคีภัยเป็นภัยที่ร้ายแรงของประชาชน ที่ควรได้รับความคุ้มครองโดยเร็วที่ สุด จึงได้ตรวจตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มกฎหมายลักษณะอาญาพุทธศักราช 2475 เพิ่มโทษผู้ทุจริตวางเพลิงให้มากขึ้น โดยมีโทษอย่างแรงที่สุด ถึงการประหารชีวิต ต่อมาคณะรัฐประหารได้จัดตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งประกอบด้วยผู้แทนคณะรัฐมนตรี ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนฝ่ายทหารและผู้แทนฝ่ายตำรวจ เพื่อพิจารณาทางแก้ไขกิจการดับเพลิงที่ปฏิบัติไม่ได้ผลได้ตามเป้าหมายในขณะนั้นผลการพิจารณาหารือของกรรมการชุดนี้ มีความเห็นว่าควรจะจัดตั้งกองดับเพลิงอาชีพหรือประจำขึ้น อย่างที่นานาประเทศปฏิบัติกัน แต่เนื่องจากทางตำรวจยังขาดกำลังคนและงบประมาณ กระทรวงกลาโหม จึงได้สั่งโอนเงินเดือนและกำลังคนมาขึ้นกับกรมตำรวจ โดยจัดรวบรวมหน่วยดับเพลิงที่กระจัดกระจายกันอยู่ มาเข้าเป็นแผนกหนึ่ง ในความรับผิดชอบของหัวหน้าแผนกดับเพลิง ขึ้นตรงต่อกรมตำรวจ
ในปี พ.ศ. 2480 ด้วยเหตุผลบางประการ กรมตำรวจได้จัดรูปส่วนราชการใหม่จึงเป็นผลให้ต้องโอนกิจ การบุคคลในแผนกดับเพลิง ไปสังกัดอยู่กับเทศบาลนครกรุงเทพฯ บรรดาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เปลี่ยนฐานะไปเป็นพนักงานเทศบาล มีสิทธิและหน้าที่ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาลสืบไป
แม้หน่วยดับเพลิง จะได้จัดตั้งขึ้นเป็นปึกแผ่นแล้วในสมัยนั้น แต่เหตุการณ์และอุปสรรคหลายประการ ไม่สามารถช่วยกิจการดับเพลิง ให้วิวัฒนาการไปตามสมควร เจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่ได้รับการเอาใจใส่สมัยแรกๆ ต้องประสบปัญหานานับประการ ยิ่งกว่านั้นสถานการณ์สงคราม ทำให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงต้องปฏิบัติงานอย่างหนัก เจ้าหน้าที่ที่ได้ออกปฏิบัติงานจนเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บไม่เคยรับค่าตอบแทนเป็นบำเหน็จพิเศษแต่อย่างใดเลย
กิจการดับเพลิงในสมัยวิวัฒนาการ
บทเรียนที่ได้ประสบทั้งในยามปกติ จลาจล และสถานการณ์สงคราม ทำให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเกิดความอดทน ความมานะบากบั่นและหาทางปรับปรุงตนเอง ให้เข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ โดยยึดถืออุดมคติในการทำงานเพื่อรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติในปีพ.ศ. 2496 กระทรวงมหาดไทยได้ตระหนักถึงภาระหน้าที่ด้านนี้อย่างมาก จึงได้สั่งโอนกิจการดับเพลิงจังหวัดพระนคร – ธนบุรี กลับเข้ามาขึ้นสังกัดกรมตำรวจ ตามเดิม โดยกำหนดให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมีฐานะเป็นกองกำกับการ ในกองสวัสดิภาพประชาชน เรียกว่า “กองกำกับการดับเพลิง” แบ่งส่วนราชการ เป็น 4 แผนก คือ
|